กระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ รวมทั้งการกำหนดแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาการประกอบกิจการภาคอุตสาหกรรมไปสู่การเป็นองค์กรที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม ในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและพัฒนาชุมชนที่อยู่อาศัยบริเวณโดยรอบ เพื่อให้เกิดความไว้วางใจจากภาคประชาชนในการประกอบกิจการของภาคอุตสาหกรรม และการพึ่งพาเกื้อกูลกันในสังคม (Social Symbiosis) ส่งผลให้เกิดการพัฒนาภาคเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน อีกทั้งสนับสนุนนโยบายของภาครัฐในการสร้างวิสาหกิจชุมชนขนาดเล็ก (Small Social Enterprise) เพื่อพัฒนาสู่ผู้ประกอบการ SMEs 4.0 ต่อไป

 

กรมโรงงานอุตสาหกรรม จึงได้กำหนดมาตราฐานความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ประกอบการ (Corporate Social Responsibility, Department of Industrial Work: CSR-DIW)  โดยประยุกต์จาก ISO26001 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 และมีการพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งกำหนดแนวทางการปฏิบัติตามมาตรฐาน และส่งเสริมให้ให้ภาคอุตสาหกรรมนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กร และมีกิจกรรมที่แสดงความรับผิดชอบต่อสังคม จนถึงปัจจุบันมีโรงงานนำมาตรฐาน CSR-DIW ไปดำเนินงานและได้รับรางวัล CSR-DIW แล้ว มากกว่า 1,177 โรงงาน รวมทั้งกรมโรงงานอุตสาหกรรมยังส่งเสริมให้โรงงานแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างต่อเนื่อง โดยการให้โรงงานอุตสาหกรรมส่งรายงานผลการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม ตามมาตรฐาน CSR-DIW ให้หน่วยทวนสอบที่ขึ้นทะเบียนกับกรมโรงงานอุตสาหกรรมทวนสอบ และเสนอให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมพิจารณาให้ความเห็นชอบ เพื่อรับรองและให้รางวัล CSR-DIW Continuous ซึ่งแต่ละปี มีโรงงานอุตสาหกรรมยื่นขอการรับรอง ไม่น้อยกว่า 350 โรงงานและเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

รางวัล CSR-DIW ปัจจุบัน มี 3 รางวัล

  1. CSR-DIW for Beginner เป็นรางวัลสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้นำหลักปฏิบัติของมาตรฐาน CSR-DIW ไปประยุกต์ใช้ โดยเลือกแสดงเอกสารหลักฐาน และกิจกรรมที่สอดคล้องกับ 1 ใน 3 หัวข้อหลัก ได้แก่ การกำกับดูแลองค์กร สิ่งแวดล้อม และการพัฒนาชุมชน และมีกิจกรรมแผนงานด้านใดด้านหนึ่ง
  2. CSR-DIW Award เป็นรางวัลสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้นำหลักปฏิบัติของมาตรฐาน CSR-DIW ไปประยุกต์ใช้ โดยเลือกแสดงเอกสารหลักฐาน และกิจกรรมที่สอดคล้องกับ 7 หัวข้อหลัก 9 เกณฑ์ปฏิบัติ
  3. CSR-DIW Continuous Award เป็นรางวัลสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้นำหลักปฏิบัติของมาตรฐาน CSR-DIW ไปประยุกต์ใช้อย่างต่อเนื่อง โดยเสนอผลงานที่ได้มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องจากกิจกรรม CSR-DIW ที่ผ่านมา

ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2558 เห็นชอบในหลักการให้ผู้ประกอบธุรกิจด้านต่างๆ ต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคม สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของกระทรวงอุตสาหกรรมที่ต้องการสนับสนุนและสร้างจิตสำนึกให้ผู้ประกอบกิจการโรงงานมีความรับผิดชอบต่อสังคมและเพื่อให้การดำเนินกิจการโรงงานสามารถอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างยั่งยืน และเป็นการเตรียมความพร้อมบุคลากรเฉพาะด้านความรับผิดชอบต่อสังคมให้มีความรู้ ความสามารถ อันเป็นการยกระดับให้ผู้ประกอบการโรงงานมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับของการแข่งขันในตลาดสากลและเป็นผู้นำในประชาคมอาเซียน

 

กระทรวงอุตสาหกรรมจึงออกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนบุคลากรเฉพาะด้านความรับผิดชอบต่อสังคมประจำโรงงาน สำหรับโรงงานจำพวกที่ 3 ตามบัญชีท้ายกฎกระทรวง (พ.ศ. 2535) ที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการโรงงานตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 เพื่อให้มีบุคลากรเฉพาะด้านความรับผิดชอบต่อสังคมประจำโรงงานที่ผ่านการอบรมและทดสอบตามหลักสูตรที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนด และขึ้นทะเบียนเป็นบุคลากรเฉพาะด้านความรับผิดชอบต่อสังคมประจำโรงงานต่อไป

 

โดยบุคลากรเฉพาะด้านความรับผิดชอบต่อสังคมประจำโรงงาน จะเป็นผู้ที่ดูแลและรับผิดชอบการปฏิบัติของโรงงานอุตสาหกรรมให้มีการดำเนินงานตามมาตรฐาน CSR-DIW พร้อมทั้งการจัดทำแผนงาน และรายงานผลการดำเนินงานของโรงงาน ที่สอดคล้องตามมาตรฐานดังกล่าว รวมทั้งจะเป็นผู้ที่ช่วยทำหน้าที่สร้างวัฒนธรรมการรับผิดชอบต่อสังคมให้กับองค์กร และพัฒนาองค์กรให้อยู่ร่วมกับชุมชนอย่างยั่งยืน

 

บุคลากรเฉพาะด้าน CSR มี 3 ประเภท

1 บุคลากรเฉพาะด้านการมีส่วนร่วมและพัฒนาชุมชน

2 บุคลากรเฉพาะด้านการบริหารความรับผิดชอบต่อสังคมระดับทั่วไป

3 บุคลากรเฉพาะด้านการบริหารความรับผิดชอบต่อสังคมระดับอาวุโส

 

ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การขึ้นทะเบียนบุคลากรเฉพาะด้านความรับผิดชอบต่อสังคมประจำโรงงาน พ.ศ. 2559 ไม่ได้บังคับให้โรงงานอุตสาหกรรมทุกประเภทต้องมีการขึ้นทะเบียนบุคลากรเฉพาะดังกล่าว เป็นการแนะนำให้ควรมี โดยเสนอให้โรงงานอุตสาหกรรมที่ควรมี ได้แก่

  1. โรงงานอุตสาหกรรมที่มีการจัดทำรายงาน EIA
  2. โรงงานอุตสาหกรรมที่มีการจัดทำรายงาน EHIA
  3. โรงงานอุตสาหกรรมที่มีการจัดทำรายงาน ESA
  4. โรงงานอุตสาหกรรมที่มีการจัดทำรายงาน SA
  5. โรงงานอื่นๆ นอกเหนือจาก (1) ถึง (4) ที่มีความประสงค์มีบุคลากรเฉพาะ

CSR-DIW เป็นกิจกรรมโครงการที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2550 และมีโรงงานอุตสาหกรรมได้นำไปประยุกต์ใช้หลายโรงงาน

อุตสาหกรรมดีเด่นด้าน CSR

อุตสาหกรรมดีเด่นด้าน CSR ถือเป็นรางวัลแห่งเกียรติยศให้แก่ผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรม แสดงให้เห็นถึงความวิริยะ อุตสาหะ ในการสร้างสรรค์งานที่มีคุณภาพ  ความรับผิดชอบต่อสังคม และสร้างสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ โดยมีการกำหนดคุณสมบัติผู้ที่เสนอชื่อเพื่อให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมพิจารณา และมีรายละเอียดเกณฑ์คัดเลือกดังนี้

คุณสมบัติ

  1. มีคุณสมบัติตามข้อกําหนด และคุณสมบัติทั่วไปของผู้สมัครรางวัลอุตสาหกรรม
  2. สถานประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรม ต้องผ่านเกณฑ์มาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ประกอบการ (CSR-DIW) และดําเนินงานตามมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ประกอบการอย่างต่อเนื่อง (CSR-DIW

Continuous) มาอย่างน้อย 2 ปี (ไม่จําเป็นต้องต่อเนื่องกัน) ในช่วงเวลา 5 ปีย้อนหลังจนถึงปัจจุบัน หรือสถานประกอบกิจการอุตสาหกรรมเหมืองแร่ต้องผ่านเกณฑ์มาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมแร่ (CSR-DPIM) และดําเนินงานตามมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมแร่อย่างต่อเนื่อง (CSR-DPIM Continuous) มาอย่างน้อย 2 ปี (ไม่จําเป็นต้องต่อเนื่องกัน) ในช่วงเวลา 5 ปีย้อนหลังจนถึงปัจจุบัน

  1. สถานประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรมตhองมีบุคลากรเฉพาะดhานความรับผิดชอบต่อสังคมประจําโรงงานประเภทบุคลากรเฉพาะด้านการบริหารความรับผิดชอบต่อสังคมระดับทั่วไปหรือระดับอาวุโส* หรือสถานประกอบกิจการ

อุตสาหกรรมเหมืองแร่ต้องเป็นสมาชิกเครือข่าย CSR-DPIM

  1. การดําเนินงานของสถานประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรม หรือสถานประกอบกิจการอุตสาหกรรมเหมืองแร่ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดกฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งหมด
  2. สถานประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรมหรือสถานประกอบกิจการอุตสาหกรรมเหมืองแร่ต้องไม่เคยถูกร้องเรียนหรือเคยถูกร้องเรียนโดยเรื่องร้องเรียนมีมูลเหตุจากการประกอบกิจกรรม แต่ยุติแล้วเป็นเวลา 3 ปีขึ้นไป และต้องแนบหลักฐานจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสํานักงานอุตสาหกรรมจังหวัด หรือสํานักงานนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่ที่โรงงานตั้งอยู่

 

หลักเกณฑ์การคัดเลือก

หมวดที่ 1 (ณ ปัจจุบัน) ได้รับรางวัล เกียรติบัตร หรือมาตรฐานการรับรอง ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม ,

 สิ่งแวดล้อม , แรงงาน , พลังงาน และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง (ย้อนหลังไม่เกิน 3 ปี)

  • อุตสาหกรรมสีเขียว / EMS for SMEs / Eco Factory (โรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ) / โครงการธรรมาภิบาลสิ่งแวดลอม / มรท. 8001 – 2563 / มาตรฐาน ISO 14001 : 2015 ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม /  มาตรฐาน ISO 50001 : 2018 ระบบการจัดการด้านพลังงาน /  มาตรฐาน OHSAS 18001 : 2007 ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย / มาตรฐาน ISO 45001 : 2018 ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย / มาตรฐาน ISO 9001 : 2015 ระบบบริหารงานคุณภาพ / อื่น ๆ

 

หมวดที่ 2 ความรับผิดชอบต่อสังคมในกระบวนการดําเนินงานของธุรกิจ (CSR in Process)

2.1 ด้านการใช้ทรัพยากร

  • ประสิทธิภาพการใช้วัตถุดิบ
  • ประสิทธิภาพการใช้น้ำ
  • ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน

2.2 ด้านสังคม

  • กิจกรรมสร้างคนดีให้กับสังคม
  • กิจกรรมต่อต้านคอร์รัปชัน
  • กิจกรรมต่อต้านแรงงานผิดกฎหมาย
  • กิจกรรมส่งเสริมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

2.3 ด้านสิ่งแวดล้อม

  • กิจกรรมส่งเสริมให้สังคมลดการปล่อยก็าซเรือนกระจก
  • การผลิตสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  • การจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

 

หมวดที่ 3 ความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจกับชุมชนโดยรอบ (CSR after Process)

3.1 การให้ความสําคัญด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจ

3.2 การสื่อสาร และการเข้าถึงข้อมูลของชุมชน

3.3 การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน

3.4 ประโยชน์ต่อชุมชนทางดาานเศรษฐกิจ

3.5 ประโยชน์ต่อชุมชนทางดาานสังคม

3.6 ประโยชน์ต่อชุมชนทางดาานสิ่งแวดลาอม

3.7 ความพึงพอใจของชุมชนโดยรอบต่อกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม

 

หมวดที่ 4 กิจกรรมหรือโครงการที่เป็นต่นแบบเชิงนวัตกรรมด้านความรับผิดชอบต่อสังคมที่ยั่งยืน

ในหมวดนี้ให้องค์กรเลือกเพียง 1 กิจกรรมหรือโครงการ ที่แสดงถึงต้นแบบเชิงนวัตกรรมด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและมุ่งตอบโจทย์การพัฒนาที่ยั่งยืน

4.1 แผนการดําเนินงานของกิจกรรม/โครงการ

4.2 ความเป็นนวัตกรรมหรือความคิดสร้างสรรค์ของกิจกรรม/โครงการ

4.3 ความสอดคล้องกับสมรรถนะหลักขององค์กร

4.4 การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย

4.5 ความสําเร็จและการมุ่งตอบโจทย์ความยั่งยืน

4.6 การเป็นแหล่งเรียนรู้และการขยายผลการดําเนินงาน

 เสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กร ได้รับความเชื่อถือ และไว้วางใจจากชุมชน สังคม
และกลุ่มลูกค้า เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน
 มีส่วนช่วยพัฒนาองค์กรสู่ความยั่งยืน และสนับสนุน SDGs
 นำความรู้มาประยุกต์ใช้จัดทำรายงานCSR เพื่อขอการรับรองตามมาตรฐาน CSR-DIW
(โครงการ CSR-DIW for Beginner / CSR-DIW / CSR-DIW Continuous)
 การเทียบระดับการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวระดับที่ 2 / ระดับที่ 3
 การสมัครคัดเลือกรางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น ด้าน CSR ของกระทรวงอุตสาหกรรม
 การขอรับรองตราสัญลักษณ์ Thailand Trust Mark ของกระทรวงพาณิชย์
 ได้รับการส่งเสริมการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและพัฒนาอย่างยั่งยืน sustainable Development
 เกิดความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบกิจการอุตสาหกรรมกับชุมชนทำให้มีการพึ่งพากันในสังคม Social symbiosis และขับเคลื่อนการพัฒนาในพื้นที่ให้เป็นไปอย่างยั่งยืน
 เสริมสร้างวิสาหกิจชุมชนขนาดเล็กและขนาดกลางให้มีศักยภาพสามารถแข่งขันในตลาดการค้าและสนับสนุนให้
 วิสาหกิจมีความเข้มแข็ง
 สนับสนุนให้พื้นที่เป้าหมายผ่านเกณฑ์การประเมินความเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ
 ได้การรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวระดับที่ 3
 สร้างความสัมพันธ์ที่ดีให้เกิดขึ้นระหว่างผู้ประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรมกับคนในชุมชนรอบสถานประกอบการ
 นำตราสัญลักษณ์นำไปติดที่บรรจุภัณฑ์เพื่อช่วยในการส่งเสริมการขาย
 ใช้ข้อมูลในการจัดทำรายงาน CSR-DIW เพื่อ เตรียมความพร้อมสู่การขอการรับรองสู่อุตสาหกรรมสีเขียวระดับที่ 4,จรรยาบรรณธุรกิจ และ รายงานความยั่งยืนได้ในอนาคต

  • การเทียบระดับการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวระดับที่ 2 กรณี CSR-DIW for Beginner และ ระดับที่ 3 กรณี CSR-DIW และ CSR-DIW Continuous
Skip to content